ภาพหมู่

เอ็นไอเออัพดีกรีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ ในพื้นที่อีอีซีผ่านดีพเทคสตาร์ทอัพด้าน “ARI-Tech”

พร้อมส่งไม้ต่อบิ๊กธุรกิจร่วมลงทุน 10 สตาร์ทอัพฝีมือดี หวังเพิ่มมูลค่า 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

กรุงเทพฯ 10 กันยายน 2564 – สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เร่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ผ่านการผลักดันสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือดีพเทคสตาร์ทอัพในสาขา ARI-Tech เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการเติมเต็มเทคโนโลยีใหม่จากสตาร์ทอัพ พร้อมยกระดับความโดดเด่นในด้านการเป็นฐานแห่งการผลิต และดึงดูดให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจที่จะลงทุนหรือขยายธุรกิจในอนาคต โดยจับคู่ 10 สตาร์ทอัพให้ได้มีโอกาสทำงานร่วมภาคอุตสาหกรรมจริงกับหน่วยงานและบริษัทเทคโนโลยีในพื้นที่อีอีซี รวมถึงการจัดกิจกรรม DEMO DAY เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานและแผนธุรกิจของของสตาร์ทอัพกับนักลงทุนขนาดใหญ่ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสตาร์ทอัพผู้ชนะที่ได้รับรางวัล The Best Performance ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากคณะกรรมการ) ได้แก่ ทีม AltoTech และรางวัล The Popular ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน) ได้แก่ ทีม MOVEMAX

นายทรงศักดิ์ สายเชื้อ กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ NIA และที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า “กิจกรรมหลักของโครงการตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นการเร่งสร้างและยกระดับความสามารถของสตาร์ทอัพด้าน ARI-Tech ให้เป็นที่ประจักษ์ ถึงแม้จะมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องระยะเวลาและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สตาร์ทอัพเหล่านั้นก็สามารถแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาและทำงานจริงร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่อีอีซีได้เป็นอย่างดี โดยสามารถตอบโจทย์ให้กับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูง เช่น ตลาด Smart Energy, Smart Retail, Industry 4.0, Digital Transformation และเชื่อมโยงกับศักยภาพของพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตและเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่สำคัญของประเทศที่มีนโยบายสนับสนุนด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และทุกภาคส่วนทั้งการเกษตรและชุมชน”

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA เปิดเผยว่า “NIA ได้จัดกิจกรรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ภายใต้โปรแกรม Global Startup Hub: EEC ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพให้มีโอกาสได้รับการลงทุน และมีช่องทางการทำตลาดกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี รวมถึงเพื่อยกระดับพื้นที่อีอีซีให้เป็นพื้นที่แห่งการเติบโตของสตาร์ทอัพ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งเรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ บริษัทและหน่วยงานมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งการผลักดัน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล โดยในปีนี้ NIA นำร่องสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARI-Tech) ซึ่งประกอบด้วย Artificial Intelligence หรือ AI เทคโนโลยีทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจและเรียนรู้องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา Robotic หรือ หุ่นยนต์ และ Immersive ซึ่งเป็นนวัตกรรมเสมือนจริง รวมถึงการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตควบคุมสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานเทคโนโลยีเชิงลึกที่สามารถเชื่อมโยงกับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของอีอีซีที่จะนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันและเติมเต็มมูลค่า ช่วยยกระดับความโดดเด่นในด้านการเป็นฐานแห่งการผลิต ตลอดจนเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจที่จะลงทุนหรือขยายธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าวได้ต่อไป”

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า “NIA ได้คัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ จำนวน 10 ทีม เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีโอกาสได้เข้าไปพัฒนากระบวนการทางอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในพื้นที่อีอีซีในรูปแบบ co-creation เพื่อทำให้สตาร์ทอัพเข้าใจความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และนำเทคโนโลยีที่มีไปต่อยอดในอุตสาหกรรมที่อาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน จนสามารถนำไปขยายผลในเชิงธุรกิจได้จริง นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมให้กับสตาร์ทอัพผ่านกระบวนการเรียนรู้ การให้คำปรึกษา และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสที่สำคัญใน 4 มิติ ได้แก่ 1) โอกาสการขยายตลาดใหม่ 2) โอกาสการสร้างความความร่วมมือกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ต่อเนื่องถึงการสร้างธุรกิจใหม่ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ 3) โอกาสการปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ตอบโจทย์การใช้งานและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ ตลาด และห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่สำคัญต่อการยกระดับระบบนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกของไทยที่ในอนาคตสามารถขยายธุรกิจในระดับนานาชาติต่อไป”

ด้าน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “สตาร์ทอัพแต่ละทีมได้พัฒนาโครงการอย่างเข้มข้นผ่านการทำงานจริงร่วมกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำในพื้นที่อีอีซี โดยได้รับคำแนะนำทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาร่วมแก้โจทย์ปัญหาหรือต่อยอดธุรกิจ อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดระยะเวลาโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพแบบเจาะลึก และการจับคู่สตาร์ทอัพและบริษัทพันธมิตรซึ่งประกอบด้วย 1. AltoTech: AIoT แพลตฟอร์มวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในโรงแรม หรืออาคารแบบอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับ บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 2. AUTOPAIR: แพลตฟอร์มบริหารจัดการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและบริหารค่าใช้จ่าย ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทำงานร่วมกับ บริษัท เอ็น ดี รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) 3. BlueOcean XRSIM+: แพลตฟอร์มจำลองการฝึกเสมือนจริง ส่งมอบประสบการณ์การฝึกปฎิบัติงาน (OJT) ทะลายข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ทำงานร่วมกับ EEC Automation park ม.บูรพา และสถาบันไทย-เยอรมัน 4. Crest Kernel: ระบบตรวจสอบความปลอดภัยและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคบนข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ด้วย DeepEyes ทำงานร่วมกับ บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน) 5. ENRES: AIoT แพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายอาคารและโรงงานสู่ยุค 4.0 ทำงานร่วมกับ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 6. GENSURV: รถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับนำทางด้วยเลเซอร์ สำหรับการขนย้ายพาเลทในคลังและสายการผลิต ทำงานร่วมกับ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดั๊บเบิ้ลเอ (1991) จำกัด(มหาชน) 7. IFRA: เครื่องมือช่วยวิศวกรในโรงงานเก็บข้อมูลเครื่องจักรและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ทำงานร่วมกับ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด 8. MOVEMAX: แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ทำงานร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 9. VERILY VISION: ระบบกล้อง AI เก็บข้อมูล ทะเบียนรถขนส่ง และหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอัตโนมัติ สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ ทำงานร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ 10. ZEEN: ระบบ AI สำหรับบริหารและจัดการขายสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับร้านค้าปลีกอย่างถูกต้องและแม่นยำ ทำงานร่วมกับ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด”

NIA_DEMO DAY_Poster_Final_20

Demo Day โชว์ผลงาน Deep Tech Startup แสดงศักยภาพในพื้นที่ EEC

มาพบกับศักยภาพของเหล่า ARI-TECH STARTUP ทั้ง 10 ทีม ในโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC จาก 3 กลุ่มเทคโนโลยี 1) Artificial Intelligent (AI) 2) Robotics และ 3) Immersive, IoT ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มเข้น โดยตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมพัฒนาทักษะและศักยภาพ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดสู่การขยายธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และที่สำคัญได้รับโอกาสร่วมดำเนินงาน Co-creation นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เกษตร อาหาร การขนส่ง ในพื้นที่

.

ทีมไหนจะเป็นทีมที่สามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นในโครงการ NIA DEEP TECH Incubation @ EEC มาร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ไปด้วยกัน

.

สนใจร่วมฟัง Pitching และสร้างเครือข่ายพันธมิตรให้เติบโตพร้อมกัน!!

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป

ผ่านทางช่องทาง Zoom

.

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และท่านที่สนใจนัดหมายกับสตาร์ทอัพเพื่อต่อยอดและลงทุนทางธรุกิจได้ที่ Link : https://forms.gle/XK4PybgWF1vDmxKk9

.

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ มณฑา ไก่หิรัญ

– โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543

– มือถือ : 081-372 9163

1

จัดเต็ม!! พบกับ 10 สตาร์ทอัพสายดีพเทคกลุ่ม ARI-Tech เพิ่มโอกาสจับคู่ธุรกิจให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปด้วยกัน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และเครือข่ายพันธมิตร ขอเชิญบริษัท ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขยายธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ในยุค Next Normal เข้าร่วมกิจกรรม Business Matching – Networking ร่วมฟัง Pitch และสร้างเครือข่ายพันธมิตรสุด Exclusive ผ่านกิจกรรม Networking กับ Startup ได้แบบ 1:1

.

พบกัน ARI-TECH STARTUP ทั้ง 10 ทีม ในโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC จาก 3 กลุ่มเทคโนโลยีได้แก่ 1) Artificial Intelligent (AI) 2) Robotics และ 3) Immersive, IoT ที่พร้อมโชว์ศักยภาพจากฝีมือการพัฒนาจากสตาร์ทอัพไทยแบบจัดเต็ม พร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโตในพื้นที่ EEC และขยายธุรกิจให้เติบโตให้เติบโตไปด้วยกัน

.

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในพื้นที่ EEC

.

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 17.00 น. ทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM (สำหรับผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน)

.

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานและสนใจลงเวลานัดหมายพบกับสตาร์ทอัพ ได้ที่ Link : https://forms.gle/gQYkyTMmk573axVC7

.

รายละเอียดข้อมูลหรือติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณมณฑา ไก่หิรัญ

– โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543

– มือถือ : 081-372 9163

– อีเมล : [email protected]

1632193647852

พบกับสตาร์ทอัพสายดีพเทคกลุ่ม ARI-TECH STARTUP ทั้ง 10 ทีม ในโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC เพิ่มโอกาสจับคู่ธุรกิจให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปด้วยกัน

กิจกรรม Business Matching – Networking ร่วมฟัง Pitch และสร้างเครือข่ายพันธมิตรสุด Exclusive ผ่านกิจกรรม Networking กับ Startup ได้แบบ 1:1

พบกับ :

https://fb.watch/8834iSRrWl/  Link VDO งาน Networking

กล่าวเปิดงาน โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA

นำเสนอ รายละเอียดกิจกรรม Online Networking with ARI-Tech Startup โดยคุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม NIA

สำหรับนักธุรกิจ นักลงทุน หรือผู้ประกอบการท่านไหนที่มีความสนใจต้องการต่อยอดธุรกิจกับ 10 ARI-Tech Startup (AI-Robotics-Immersive, IoT) สามารถคลิกเพื่อดูข้อมูลของแต่ละทีมได้ที่ : https://drive.google.com/…/1GuWqa7mDtiMTYS4IZAG2uw1dI31…

1. Zeen : ระบบ AI สำหรับบริหารและจัดการขายสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับร้านค้าปลีกอย่างถูกต้องและแม่นยำ

2. Crest Kernel : ระบบตรวจสอบความปลอดภัยและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคบนข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ด้วย DeepEyes

3. Verily Vision : ระบบกล้อง A.I. เก็บข้อมูล ทะเบียนรถขนส่ง และหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าอัตโนมัติ สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์

4. AltoTech : AIoT แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงาน ภายในโรงแรม อาคาร และสมาร์ท ซิตี้ ได้อย่างอัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพด้วย AI, IoT, Big Data, และ Human-centric technologies

5. MOVEMAX : แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์

6. AUTOPAIR : แพลตฟอร์มบริหารจัดการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและบริหารค่าใช้จ่าย ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

7. GENSURV : รถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับ นำทางด้วยเลเซอร์ สำหรับการขนย้ายพาเลตในคลังแล สายการผลิต

8. BlueOcean XRSIM+ : แพลตฟอร์มจำลองการฝึกเสมือนจริง ส่งมอบประสบการณ์การฝึกปฎิบัติงาน (OJT) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่

9. ENRES : IoT และ AI platform สำหรับการบริการจัดการพลังงานเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย

10. IFRA-Machine : แพลตฟอร์มไอโอทีจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อลดการหยุดทำงานของเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดข้อมูลหรือติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณมณฑา ไก่หิรัญ

– โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543

– มือถือ : 081-372 9163

– อีเมล : [email protected]

.

#NIA #DeepTechStartupxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #ImmersiveIoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment #BusinessMatching #Networking

1

NIA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรจัดกิจกรรม Business Matching – Networking กับ 10 ARI-Tech Startup จากโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC

23 กรกฎาคม 2564 – NIA จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในเขตพื้นที่ EEC ภายใต้ชื่องาน “Business Matching – Networking” ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากกว่า 120 คน จากหลากหลายกลุ่ม อาทิ นักลงทุน ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา Startup รวมถึงผู้ที่สนใจที่กำลังมองหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดและเสริมธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมร่วมฟัง Pitch จาก 10 ARI-Tech Startup ทั้ง 10 ทีม ด้าน AI ,ROBOTIC, IMMERSIVE, IOT

.

โดยได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานโดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ว่า สนช. ที่ได้ให้ความสำคัญในยุทธศาสตร์ของการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ และการพัฒนาให้เกิดสตาร์ทอัพ ที่จะก่อให้เกิดการเข้ามาสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐานอุตสาหกรรมเดิมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor หรือ EEC โดยสร้างให้เกิดศูนย์กลางสตาร์ทอัพระดับโลก (Global Startup Hub) ที่ EEC ที่มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพเชิงพื้นที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานเกิดการรังสรรค์นวัตกรรรมและแนวทางทางการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ร่วมกันระหว่างสตาร์ทอัพ และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพในพื้นที่ EEC ที่มีความพร้อมและตอบโจทย์ผู้คนที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างชาติ

.

ต่อด้วย คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม NIA กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการ NIA Deep Tech Incubation @EEC กล่าวว่า ในปี 2564 มุ่งเน้นสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ในกลุ่ม ARI-Tech นำเทคโนโลยีและนวัตกรรรมมาแก้ไขปัญหามาตอบโจทย์ความต้องการของ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC ได้ร่วมสร้างสรรค์ความร่วมมือ (Co-creation) ทดสอบการใช้งาน (Proof of Concept, POC) กับบริษัทหรือองค์กรหน่วยงานในพื้นที่ ผ่านกิจกรรม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC โดยในวันนี้ได้จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายละจับคู่ธุรกิจระหว่างสตาร์ทอัพกลุ่ม ARI-Tech กับผู้ที่สนใจที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสจับคู่ธุรกิจ ให้เกิดการขยายธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ให้มากขึ้น

.

หลังจากนั้น สตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีม ได้แก่ 1) Zeen 2) Crest Kernel 3) Verily Vision 4) AltoTech 5) MOVEMAX 6) AUTOPAIR 7) GENSURV 😎BlueOcean XRSIM+ 9) ENRES และ 10) IFRA นำเสนอรูปแบบของสินค้าและบริการ ที่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่บนพื้นฐานของใช้เทคโนโลยี โดยหลังจากนั้นได้เปิดห้องให้กับผู้สนใจ ร่วมพูดคุย หารือแนวทางความร่วมมือแบบ 1:1 ในอนาคตต่อไป

.

สามารถชมการนำเสนอโซลูชั่นของสตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/72oVvcFs4s/

.

#NIA #DeepTechStartupxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #Immersive #IoT #StartupThailand #Sectoraldevelopmen

9

NIA จัดเต็มเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ไปกับ “กูรู” ให้กับสตาร์ทอัพสายดีพเทคในกิจกรรม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC

จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม Boot Camp ภายใต้กิจกรรม “บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC” ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เมื่อวันที่ 5, 15 และ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom

.

ตลอด 3 วัน ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ มุ่งหวังให้สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐาน เข้าใจหลักคิด และหลักปฏิบัติที่สำคัญด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในการขยายธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดในการรังสรรค์นวัตกรรมร่วมกับองค์กรพันธมิตรในเขต EEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ Tech Startup มาแบ่งปันความรู้ ให้คำแนะนำกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและร่วมแชร์ประสบการณ์ต่างๆ แก่สตาร์ทอัพของโครงการฯ ทั้ง 10 ทีมได้เรียนรู้กันอย่างเข้มข้น

.

วันแรกของกิจกรรม ได้รับเกียรติจาก คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Silicon Craft มาแชร์เรื่องราวการดำเนินธุรกิจ พร้อมกลยุทธ์ที่พลักดันธุรกิจให้เติบโตขยายไปได้ในระดับโลก ในหัวข้อ “Deep Tech scale up การสร้าง deep tech startup สู่การต่อยอดธุรกิจ” เรียกว่าทำให้สตาร์ทอัพ มีแรงบันดาลใจและอยากที่จะประสบความสำเร็จแบบวิทยากรกันเลยทีเดียว ต่อจากนั้น คุณจิรุตถ์ วัตตูม Technology Strategy & Portfolio Manager, SCG ได้บรรยายหัวข้อ “Deep Tech & Growth Opportunity through Corporate Partnership” เพื่อให้หลักคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

.

วันที่สอง ได้รับเกียรติจากคุณอัญชนา วัลลิภากร CEO – Baania มาแชร์ประสบการณ์เส้นทางการเติบโตของธุรกิจ และแนวคิดในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ บนพื้นฐานของเทคโนโลยีเชิงลึก ในหัวข้อ “Deep Tech Journey : From Big Data to Big Tech Company” และปิดท้ายกับหัวข้อ “The Growth Path of Startup and 5G Opportunities” โดย คุณชาริณี กัลยาณมิตร CEO – 5G Catalyst Technologies ที่มาให้ความรู้เรื่องของการเติบโตของสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก วิธีการระดมทุน และความคาดหวังของนักลงทุน

.

วันสุดท้ายของกิจกรรม ได้รับเกียรติจากคุณมุกด์ สีบุญเรือง ผู้ช่วยเลขาธิการด้านยุทธศาสตร์การลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มาสร้างความเข้าใจเรื่อง “ EEC Industry Landscape & Startup Opportunities” เพื่อให้สตาร์ทอัพมองเห็นภาพรวมกลไกการสนับสนุนและโอกาสการเติบโตขยายธุรกิจใน เขต EEC นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Online Networking ที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ EEC และสตาร์ทอัพในโครงการได้ร่วมพูดคุยและสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปด้วยกัน เรียกว่าจบงานกันไปด้วยสาระความรู้แบบจัดเต็ม

.

#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #ImmersiveIoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment

7

4 มิถุนายน 2564 – เริ่มแล้ว! สำหรับกิจกรรม Co-Creation ระหว่างหน่วยงานพันธมิตรและสตาร์ทอัพ ในโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพ สาย DEEP TECH ที่มีนวัตกรรมด้าน ARI-Tech

1) Artificial Intelligent (AI)

2) Robotics

3) Immersive, IoT

.

มาร่วมรับโจทย์พร้อมพูดคุยเพื่อวางเป้าหมาย (Goal Setting) และมองภาพร่วมกันในการดำเนินงานภายในระยะเวลาของโครงการ โดยมีองค์กรชั้นนำหลากหลายอุตสาหกรรมที่เข้าร่วม อาทิ PTT, B.Grimm, AIS,คาราบาว, Thai Summit, สยามคูโบต้า, สุนทรธัญทรัพย์, สถาบันไทย-เยอรมัน, Automation park ม.บูรพา, ND Rubber

.

โดยในวันแรกที่เริ่มโครงการได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวต้อนรับองค์กรพันธมิตร และแสดงความยินดีกับสตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีม พร้อมเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ

.

โดยได้กล่าวถึงแผนระยะยาวในการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เป็น Global Startup Hub @EEC และย้ำวัตถุประสงค์หลักของโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ว่าเป็นโครงการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับสตาร์ทอัพ สาย Deep Tech ให้เติบโตในพื้นที่ EEC อย่างแท้จริง โดยเน้นสร้างความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพ และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ และช่วยให้สตาร์ทอัพได้ขยายฐานธุรกิจ เปรียบเสมือน Sandbox ที่ให้สตาร์ทอัพนำโซลูชั่นไปใช้งานจริง ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ พร้อมกล่าวเสริมว่าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในการร่วมทำ Co-Creation สตาร์ทอัพจะได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ อาทิ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activity) ที่เน้นให้เกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยมีรุ่นพี่สตาร์ทอัพมาร่วมแนะนำแนวทางการดำเนินธุรกิจ 2) กิจกรรมให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ (Coaching & Mentoring Activity) โดยทุกทีมจะมี Mentor ประจำทีมแบบ 1:1 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ มาให้คำปรึกษาตลอดโครงการ 3) กิจกรรมลงมือปฏิบัติทดสอบ (POC) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อทดสอบนวัตกรรมของสตาร์ทอัพว่าสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ทำให้ได้เห็นโจทย์ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จริง และเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหา (Pain Points) และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้สตาร์ทอัพไปพร้อมกัน โดยทิ้งท้ายว่าอยากให้โครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง ที่สร้างให้สตาร์ทอัพ สาย Deep Tech ของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด และสร้างนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง

.

ต่อจากนั้น คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวแนะนำภาพรวม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC และเปิดตัว Mentor ประจำทีมสตาร์ทอัพ พร้อมแนะนำรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดหลังจากนี้ และคุณอรพิมพ์ เหลืองอ่อน Managing Partner – Aimspire กล่าวแนะนำกระบวนการทำ co-creation การทำงานร่วมกับบริษัทพันธมิตรเพื่อต่อยอดธุรกิจต่อไป

.

ปิดท้ายด้วยการประชุมกลุ่มย่อยเข้าสู่กิจกรรม Co-Creation ระหว่างหน่วยงานพันธมิตรและสตาร์ทอัพ เพื่อร่วมวางเป้าหมาย (Goal Setting) และมองภาพร่วมกันในการดำเนินงานภายในระยะเวลาของโครงการ ซึ่งหลังจากนี้ ต้องคอยติดตามว่าจะได้เห็นนวัตกรรม Deep Tech ในรูปแบบไหน ไม่นานเกินรอ!!

2_INCUBATION_Template

ขอบคุณสตาร์ทอัพสาย Deep Tech ในกลุ่ม ARI-Tech ทุกทีม ที่สมัครเข้าร่วม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC ในโครงการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

และขอแสดงความยินดีกับ 10 ทีมที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อไปร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมและเติบโตในพื้นที่ศักยภาพ EEC

.

1. ENRES

2. AltoTech

3. Move Max

4. GenSurv

5. Crest Kernel

6. Verily Vision

7. Zeen

8. AUTOPAIR

9. Blue Ocean

10. IFRA-Machine

.

จากปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 หลังจากนั้นสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำทีมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยี และ 14 หน่วยงานพันธมิตร

.

1.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

3. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

4. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

5. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

6. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

7. สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA) ผู้แทนโดย Krungsri Finnovate

8. สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย

9. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

10. บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด

11. บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

12. บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

13. บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ

14. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

.

ดำเนินการคัดเลือกและตัดสินแบบเข้มข้นจนได้สุดยอด 10 ทีม สตาร์ทอัพสายดีพเทค กลุ่ม ARI-Tech (AI-Robotic-Immersive, IoT) เข้าร่วมกิจกรรม NIA Deep Tech Incubation Program @EEC โดยผู้ผ่านเข้ารอบจะได้รับโอกาสสำคัญ ในการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การร่วมทำ Co-creation กับบริษัทพันธมิตรในพื้นที่ EEC พร้อมทั้งมี Mentor และที่ปรึกษาตลอดระยะเวลาโครงการ

ฝากติดตามและให้กำลังใจกับทั้ง 10 ทีมที่ผ่านเข้าร่วมโครงการด้วยนะคะ ได้ที่ http://aritech.nia.or.th/eec/

#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #ImmersiveIoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment

01

1 วันสุดท้ายก่อนปิดรับสมัคร ! สตาร์ทอัพสาย Deep Tech ที่มี technology พร้อมต่อยอดขายธุรกิจใน EEC รีบสมัครด่วน!

สตาร์ทอัพสาย D

โอกาสสุดท้ายที่จะได้ร่วมโครงการ NIA Deep Tech Incubation Program@EEC  โครงการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  พร้อมพลักดันให้สตาร์ทอัพได้พัฒนานวัตกรรมและเติบโตได้จริงในพื้นที่ EEC  พร้อมโอกาสสำคัญที่จะทำ  Co-Creation และร่วมทำงานกับบริษัทพันธมิตรชั้นนำ อาทิ B.Grimm, AIS, คาราบาวแดง, Kubota etc. ที่พร้อมจะทำงานร่วมกับ startup และให้คำปรึกษาในการแก้โจทย์จากความต้องการจริงเพื่อต่อยอดธุรกิจ  และสิทธิการเป็นพันธมิตรในระยะยาว  พร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการทีมละ 100,000 บาท (เน้นการทำงานกับโจทย์จริง และ mentoring จากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและเทคโนโลยี ไม่มี class เรียน)

อย่ารอช้าหากคุณคือ สตาร์ทอัพ ในกลุ่ม ARI-Tech ได้แก่ 1) Artificial Intelligent (AI) 2) Robotics 3) Immersive, IoT 

โอกาสเป็นจริงได้ เพียงสมัครเข้าร่วมโครงการ

ปิดรับสมัครภายในวันที่ 12 พ.ค.นี้ เท่านั้น

รายละเอียดของบริษัท พร้อมทั้งแผนธุรกิจ (Pitch Deck)

ได้ที่ http://aritech.nia.or.th/eec

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณมณฑา ไก่หิรัญ 

– โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543

– มือถือ : 081-372 9163

– อีเมล : [email protected]

#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARI-Tech #AI #Robotics # Immersive IoT #StartupThailand #Sectoral development

ARI_cover

ตัวอย่าง 6 บริษัทที่ตอบโจทย์การทำงานระดับโลก และขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม ด้าน ARI-TECH (Artificial Intelligent – Robotics – Immersive, IoT)

หากคุณคือ Deep Tech Startup ด้าน ARI Tech ที่พร้อมเติบโตและต้องการขยายฐานธุรกิจในพื้นที่ศักยภาพ EEC  เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มาร่วมเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมให้ไปไกลระดับโลก และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกัน

โอกาสครั้งสำคัญ!! ที่คุณจะได้เรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม พร้อมทำงานและร่วมทำ Co-creation กับบริษัทชั้นนำระดับประเทศ  ได้เรียนรู้แนวทางและกระบวนการทำงานเชิงลึก พร้อมพัฒนานวัตกรรมไปกับผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ  

ขอเชิญสตาร์ทอัพ  ด้าน ARI Tech ที่พัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกที่พัฒนาขึ้นมาเอง ตาม Track ต่างๆ เหล่านี้

1. Artificial intelligence, AI   : ปัญญาประดิษฐ์

2. Robotics : หุ่นยนต์

3. Immersive Technology , IOT  : เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสำหรับสั่งการ , Internet of Things  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่วันนี้ถึง 12 พ.ค. 2564

ส่งรายละเอียดของบริษัท พร้อมทั้งแผนธุรกิจ (Pitch Deck)

ได้ที่ http://aritech.nia.or.th/eec

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณมณฑา ไก่หิรัญ 

– โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543

– มือถือ : 081-372 9163

– อีเมล : [email protected]

#NIA #DeepTechxEEC #Incubation #PPP #ARI-Tech #AI #Robotics # Immersive IoT #StartupThailand #Sectoral development